จะเห็นได้ว่าในกระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นล้วนแล้วต้องมีระบบพิมพ์เข้ามารวมอยู่ด้วย โดยระบบการพิมพ์ที่นิยมใช้พิมพ์บนกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นเป็นระบบการพิมพ์แบบเฟล็กโชกราฟี ทั้งนี้ผู้เขียนขออธิบายหลักการพื้นฐานของระบบนี้ไว้ ดังนี้
หลักการพิมพ์ของระบบ Flexographic นั้นแม่พิมพ์ทำจากยางเป็นพื้นนูนจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่า “การพิมพ์พื้นนูน” บริเวณที่นูนนั้นจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งนี้การทำแม่พิมพ์จะต้องทำแม่พิมพ์บนแผ่นสังกะสีก่อน แล้วจึงนำเบคาไลต์ (Bakelite) ไปทาบนแผ่นสังกะสีที่กัดด้วยกรดเป็นแม่พิมพ์ จากนั้นเมื่อถ่ายแบบมาแล้วนำแผ่นยางไปอัดบนเบคาไลต์ จึงจะได้แม่พิมพ์ยางที่เรียกว่า Polymer plate ซึ่งทำจากยางสังเคราะห์ มีความเหมาะสมในการใช้งาน เนื่องจากทนทาน และสามารถรับหมึกได้ดี หมึกที่ใช้เป็นหมึกเหลว อาจเป็นหมึกพิมพ์ระบบฐานน้ำหรือฐานตัวทำละลายก็ได้ สามารถแห้งตัวได้โดยการระเหยทั้งนี้แม่พิมพ์ชนิดนี้ต้องการแรงกดพิมพ์ต่ำเนื่องจากใช้แม่พิมพ์นุ่มและหมึกพิมพ์เหลว
หลักการทั่วไปของระบบการพิมพ์นี้เริ่มจากมีลูกกลิ้งยางจุ่มอยู่ในอ่างหมึก (Ink Fountain Roll) ทำไห้ลูกกลิ้งนี้ถูกเคลือบด้วยหมึกพิมพ์แบบบางๆและจะนำพาหมึกมาติดที่ลูกกลิ้งอนิล็อกซ์ (Anilox Roll) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณหมึกที่จะถ่ายทอดไปยังลูกกลิ้งที่มีแม่พิมพ์ยางหุ้มอยู่ (Printing Plate Cylinder) โดยลูกกลิ้งนี้มีลักษณะเป็นพื้นนูนบริเวณที่รับภาพจะถ่ายทอดหมึกไปยังบนวัสดุใช้พิมพ์ (Substrate) โดยมีลูกกลิ้งเหล็ก (Impression Roll) อีกลูกหนึ่งคอยกดไว้เพื่อให้หมึกพิมพ์ซึมลงไปที่ผิวของวัสดุใช้พิมพ์อย่างทั่วถึง ดังภาพข้างซ้าย อย่างไรก็ตามระบบการพิมพ์นี้จะให้ภาพพิมพ์ที่มีความคมชัดน้อย เนื่องจากแม่พิมพ์นุ่มสามารถยืดตัวได้ส่งผลให้ภาพไม่ชัดเจน
ทั้งนี้ระบการพิมพ์แบบเฟล็กโซกราฟีที่พิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษลูกฟูกนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ยังไม่ขึ้นรูปลอน (Pre-print) เป็นระบบการพิมพ์พื้นนูน ทำจากวัสตุประเภทยาง โดยมีความพิเศษตรงที่พิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษทำผิวกล่องก่อนนำไปประกบลอนลูกฟูก ดังภาพด้านขวา และใช้หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย (Water-based Ink) ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพิมพ์แบบ Pre-print ช่วยทำให้กล่องมีสีสันสวยงามขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมตำแหน่งการพิมพ์ (Register) ได้อย่างแม่นยำบนกระดาษผิวเรียบ จึงหมดปัญหากระดาษทำผิวกล่องเป็นคลื่น (Washboard Effect) และพิมพ์ได้มากกว่า 4 สี ทำให้ได้งานพิมพ์มีคุณภาพสีสันสวยงามสมจริงยิ่งขึ้นนอกจากนี้กล่องจะมีความแข็งแรง คงทน และรับน้ำหนักในการวางซ้อนได้ดีขึ้น เนื่องจกการพิมพ์ระบบ Pre-print ไม่ทำให้ลอนลูกฟูกยุบตัวซึ่งส่งผลต่อคความต้านทานแรงกดในแนวดิ่งที่ไม่ลดลงด้วยนั้นเอง (Box Compression Test, BCT) ดังนั้นกล่องกระดาษลูกฟูกที่พิมพ์ด้วยระบบ Pre-print จึงมีความสวยงามและเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยดึงดูดผู้บริโภค และยังยกระดับภาพลักษณ์ของสินค้าของผู้ประกอบการได้ ตลอดจนทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้ามากยิ่งขึ้น
2) การพิมพ์ลอนแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ขึ้นรูปลอนแล้ว (Post-print) เป็นระบบการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แม่พิมพ์พื้นนูนทำจากวัสดุประเภทยาง หรือ Photopolymer ในการผลิต และพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ขึ้นรูปลอนแล้ว ใช้หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายซึ่งแห้งตัวได้เร็ว ทำให้ได้กล่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับกล่องที่พิมพ์ระบบนี้หลังจากผ่านการพิมพ์แล้วค่า BCT ของกล่องจะลดลง (โดยประมาณ) เช่น หากมีการพิมพ์ 1 สี BCT ของกล่องจะลดลงประมาณ 10% ถ้าพิมพ์ 2 สี ลดลงประมาณ 15% และหากมีการพิมพ์ 3 สี ลดลงประมาณ 20% เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟีแล้วการพิมพ์ลงบนกล่องกระดาษลูกฟูกยังสามารถพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต (Offset Printing) เรียกว่า กล่องที่ใช้พิมพ์ด้วยระบบออฟเช็ตมาประกบลอนลูกฟูก (Litholaminated Corrugated Boxes) ซึ่งกล่องที่พิมพ์ด้วยระบบออฟเช็ตนั้นจะเห็นความสวยงามของการออกแบบกราฟิกซึ่งใช้วัสดุปะผิวลอน เป็นกระดาษกล่องเคลือบแป้ง หรือกระดาษ
อาร์ตมันที่มีเนื้อกระดาษที่ละเอียดไปประกบลงบนลอนลูกฟูก ทั้งนี้ระบบการพิมพ์ออฟเช็ตประกบลูกฟูก นิยมใช้วัสดุกระดาษ ปะผิวลอนเป็นกระดาษกล่องเคลือบแป้ง หรือกระดาษหน้าขาวหลังเทาที่มีน้ำหนักมาตรฐาน ได้แก่ 310, 350, 400 และ 450 แกรม (กรัม/ตารางเมตร) แล้วมาประกบกับลอนลูกฟูกได้ทั้งลอน E, B , C และ BC ซึ่งการพิมพ์ด้วยระบบนี้ยังเข้าสู่กระบวนการหลังพิมพ์ได้อีกด้วย โดยสามารถนำไปขัดเงา เคลือบยูวี (การเคลือบยูวี คือ การเคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงาและทำให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิชโดยนิยมใช้เคลือบบนกล่องกระดาษลูกฟูก) หรือเคลือบพลาสติกชนิด OPP (Oriented Polypropylene) ทำให้สามารถป้องกันน้ำและรอยขีดข่วนที่จะเกิด นอกจากนี้ข้อดีของการใช้กระดาษกล่องเคลือบแป้ง คือ มีราคาถูกเหมาะกับกล่องขนาดเล็กๆ ในขณะที่กระดาษอาร์ตมันนั้นนิยมใช้น้ำหนักมาตฐานตั้งแต่ 120 แกรมขึ้นไป มีสีขาวทั้ง 2 ด้านโดยใช้ในงานพิมพ์โปสเตอร์ หรือกล่องกระดาษที่ต้องการความสวยงาม อย่างไรก็ตามมีราคาแพงกว่ากระดาษกล่อง การใช้งานเหมาะสำหรับสินค้าตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ หรือสินค้าที่มีน้ำหนักพอสมควรโดยสามารถพิมพ์กราฟิกที่มีความละเอียดสูงได้ เหมาะกับงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องครัว อะไหล่รถยนต์ กล่องรองเท้า เป็นต้น
ที่มาจาก : หนังสือเกาะกระแสกล่อง สำหรับขนส่งสินค้าออนไลน์
จะเห็นได้ว่าในกระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นล้วนแล้วต้องมีระบบพิมพ์เข้ามารวมอยู่ด้วย โดยระบบการพิมพ์ที่นิยมใช้พิมพ์บนกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นเป็นระบบการพิมพ์แบบเฟล็กโชกราฟี ทั้งนี้ผู้เขียนขออธิบายหลักการพื้นฐานของระบบนี้ไว้ ดังนี้
หลักการพิมพ์ของระบบ Flexographic นั้นแม่พิมพ์ทำจากยางเป็นพื้นนูนจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่า “การพิมพ์พื้นนูน” บริเวณที่นูนนั้นจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งนี้การทำแม่พิมพ์จะต้องทำแม่พิมพ์บนแผ่นสังกะสีก่อน แล้วจึงนำเบคาไลต์ (Bakelite) ไปทาบนแผ่นสังกะสีที่กัดด้วยกรดเป็นแม่พิมพ์ จากนั้นเมื่อถ่ายแบบมาแล้วนำแผ่นยางไปอัดบนเบคาไลต์ จึงจะได้แม่พิมพ์ยางที่เรียกว่า Polymer plate ซึ่งทำจากยางสังเคราะห์ มีความเหมาะสมในการใช้งาน เนื่องจากทนทาน และสามารถรับหมึกได้ดี หมึกที่ใช้เป็นหมึกเหลว อาจเป็นหมึกพิมพ์ระบบฐานน้ำหรือฐานตัวทำละลายก็ได้ สามารถแห้งตัวได้โดยการระเหยทั้งนี้แม่พิมพ์ชนิดนี้ต้องการแรงกดพิมพ์ต่ำเนื่องจากใช้แม่พิมพ์นุ่มและหมึกพิมพ์เหลว
หลักการทั่วไปของระบบการพิมพ์นี้เริ่มจากมีลูกกลิ้งยางจุ่มอยู่ในอ่างหมึก (Ink Fountain Roll) ทำไห้ลูกกลิ้งนี้ถูกเคลือบด้วยหมึกพิมพ์แบบบางๆและจะนำพาหมึกมาติดที่ลูกกลิ้งอนิล็อกซ์ (Anilox Roll) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณหมึกที่จะถ่ายทอดไปยังลูกกลิ้งที่มีแม่พิมพ์ยางหุ้มอยู่ (Printing Plate Cylinder) โดยลูกกลิ้งนี้มีลักษณะเป็นพื้นนูนบริเวณที่รับภาพจะถ่ายทอดหมึกไปยังบนวัสดุใช้พิมพ์
(Substrate) โดยมีลูกกลิ้งเหล็ก (Impression Roll) อีกลูกหนึ่งคอยกดไว้เพื่อให้หมึกพิมพ์ซึมลงไปที่ผิวของวัสดุใช้พิมพ์อย่างทั่วถึง ดังภาพด้านบนอย่างไรก็ตามระบบการพิมพ์นี้จะให้ภาพพิมพ์ที่มีความคมชัดน้อย เนื่องจากแม่พิมพ์นุ่มสามารถยืดตัวได้ส่งผลให้ภาพไม่ชัดเจน
ทั้งนี้ระบการพิมพ์แบบเฟล็กโซกราฟีที่พิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษลูกฟูกนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ยังไม่ขึ้นรูปลอน (Pre-print) เป็นระบบการพิมพ์พื้นนูน ทำจากวัสตุประเภทยาง โดยมีความพิเศษตรงที่พิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษทำผิวกล่องก่อนนำไปประกบลอนลูกฟูก ดังภาพด้านขวา และใช้หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย (Water-based Ink) ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพิมพ์แบบ Pre-print ช่วยทำให้กล่องมีสีสันสวยงามขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมตำแหน่งการพิมพ์ (Register) ได้อย่างแม่นยำบนกระดาษผิวเรียบ จึงหมดปัญหากระดาษทำผิวกล่องเป็นคลื่น (Washboard Effect) และพิมพ์ได้มากกว่า 4 สี ทำให้ได้งานพิมพ์มีคุณภาพสีสันสวยงามสมจริงยิ่งขึ้นนอกจากนี้กล่องจะมีความแข็งแรง คงทน และรับน้ำหนักในการวางซ้อนได้ดีขึ้น เนื่องจกการพิมพ์ระบบ Pre-print ไม่ทำให้ลอนลูกฟูกยุบตัวซึ่งส่งผลต่อคความต้านทานแรงกดในแนวดิ่งที่ไม่ลดลงด้วยนั้นเอง (Box Compression Test, BCT) ดังนั้นกล่องกระดาษลูกฟูกที่พิมพ์ด้วยระบบ Pre-print จึงมีความสวยงามและเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยดึงดูดผู้บริโภค และยังยกระดับภาพลักษณ์ของสินค้าของผู้ประกอบการได้ ตลอดจนทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้ามากยิ่งขึ้น
2) การพิมพ์ลอนแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ขึ้นรูปลอนแล้ว (Post-print) เป็นระบบการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แม่พิมพ์พื้นนูนทำจากวัสดุประเภทยาง หรือ Photopolymer ในการผลิต และพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ขึ้นรูปลอนแล้ว ใช้หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายซึ่งแห้งตัวได้เร็ว ทำให้ได้กล่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับกล่องที่พิมพ์ระบบนี้หลังจากผ่านการพิมพ์แล้วค่า BCT ของกล่องจะลดลง (โดยประมาณ) เช่น หากมีการพิมพ์ 1 สี BCT ของกล่องจะลดลงประมาณ 10% ถ้าพิมพ์ 2 สี ลดลงประมาณ 15% และหากมีการพิมพ์ 3 สี ลดลงประมาณ 20% เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟีแล้วการพิมพ์ลงบนกล่องกระดาษลูกฟูกยังสามารถพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต (Offset Printing) เรียกว่า กล่องที่ใช้พิมพ์ด้วยระบบออฟเช็ตมาประกบลอนลูกฟูก (Litholaminated Corrugated Boxes) ซึ่งกล่องที่พิมพ์ด้วยระบบออฟเช็ตนั้นจะเห็นความสวยงามของการออกแบบกราฟิกซึ่งใช้วัสดุปะผิวลอน เป็นกระดาษกล่องเคลือบแป้ง หรือกระดาษ
อาร์ตมันที่มีเนื้อกระดาษที่ละเอียดไปประกบลงบนลอนลูกฟูก ทั้งนี้ระบบการพิมพ์ออฟเช็ตประกบลูกฟูก นิยมใช้วัสดุกระดาษ ปะผิวลอนเป็นกระดาษกล่องเคลือบแป้ง หรือกระดาษหน้าขาวหลังเทาที่มีน้ำหนักมาตรฐาน ได้แก่ 310, 350, 400 และ 450 แกรม (กรัม/ตารางเมตร) แล้วมาประกบกับลอนลูกฟูกได้ทั้งลอน E, B , C และ BC ซึ่งการพิมพ์ด้วยระบบนี้ยังเข้าสู่กระบวนการหลังพิมพ์ได้อีกด้วย โดยสามารถนำไปขัดเงา เคลือบยูวี (การเคลือบยูวี คือ การเคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงาและทำให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิชโดยนิยมใช้เคลือบบนกล่องกระดาษลูกฟูก) หรือเคลือบพลาสติกชนิด OPP (Oriented Polypropylene) ทำให้สามารถป้องกันน้ำและรอยขีดข่วนที่จะเกิด นอกจากนี้ข้อดีของการใช้กระดาษกล่องเคลือบแป้ง คือ มีราคาถูกเหมาะกับกล่องขนาดเล็กๆ ในขณะที่กระดาษอาร์ตมันนั้นนิยมใช้น้ำหนักมาตฐานตั้งแต่ 120 แกรมขึ้นไป มีสีขาวทั้ง 2 ด้านโดยใช้ในงานพิมพ์โปสเตอร์ หรือกล่องกระดาษที่ต้องการความสวยงาม อย่างไรก็ตามมีราคาแพงกว่ากระดาษกล่อง การใช้งานเหมาะสำหรับสินค้าตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ หรือสินค้าที่มีน้ำหนักพอสมควรโดยสามารถพิมพ์กราฟิกที่มีความละเอียดสูงได้ เหมาะกับงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องครัว อะไหล่รถยนต์ กล่องรองเท้า เป็นต้น
ที่มาจาก : หนังสือเกาะกระแสกล่อง สำหรับขนส่งสินค้าออนไลน์